มูลนิธิ เอิร์ธ อะเจนด้า (Earth Agenda Foundation)
มาเป็นพลังสานต่อความหวังของการอนุรักษ์ธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมปกป้องสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์
และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเราเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าด้วยความมั่นคงและยั่งยืนที่เป็นของพวกเราทุกคน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก สัตว์ป่าคุ้มครอง และสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์
3. เพื่อศึกษาแสละเผยแพร์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อให้บริการฝึกอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก สัตว์ป่าคุ้มครอง และสัตว์ที่ใกล้สูญ พันธุ์
7. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อการกุศล และองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อ สาธารณประโยชน์
8. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรสนับสนุนการเรียนรู้ เสริมการพัฒนา สร้างอนาคตสิ่งแวดล้อม”
พันธกิจ (Mission)
1. สนับสนุนการศึกษาและเรียนรู้องค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ส่งเสริมศักยภาพในการพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. สร้างสรรค์นวัตกรรมช่วยสร้างอนาคตที่ดีในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย (Goal)
สร้างพื้นฐานองค์ความรู้และกลไกสนับสนุนการเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์(Strategic)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดบริการที่มีความหลากหลายครองคลุมทุกมิติของการอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรณรงค์เพื่อหาทุนและแสวงหาการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเพื่อจัดกิจกรรม มูลนิธิ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนภารกิจขององค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมืออาชีพ
กลยุทธ์ (Tactic)
1. พัฒนาองค์ความรู้ในการรักษาฟื้นฟูป้องกันและปกป้องการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. การส่งเสริม ให้ความรู้ การศึกษาและความเข้าใจต่อประชาชน เพื่อให้เกิดจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประธานกรรมการ
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ
ประวัติ
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ ประธานกรรมการมูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลและสัตว์น้ำ ในการเป็นอาจารย์ในหลายสถาบันการศึกษาเป็นเวลาหลายปี โดยใน อดีตได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยกาศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีประสบการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับภาครัฐและเอกชน โดยเป็นที่เคยดำรงตำแหน่งที่ ปรึกษาของกรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา ที่ปรึกษาองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ทำงานคร่ำหวอด เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมานานจนได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงาน และได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมอีกหลาย รางวัลด้วย
สารจากประธานกรรมการ
"เนื่องจากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติมีความเสี่ยงต่อการเสียหายหรือ สูญพันธุ์จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่มีความจำเป็นต้องอนุรักษ์ไว้ ซึ่งหากไม่ดำเนินการก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อ ระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม ท้ายที่สุดก็จะกระทบต่อชีวิตมนุษย์ได้เช่นกัน ปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ ทางทะเล การเปลี่ยนแปลงของอากาศและสภาพแวดล้อมจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประชากรของสัตว์ ทะเล ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลทางธรรมชาติ ลดจำนวนของสัตว์ทะเลหายาก ทำให้เกิดการเสียหายทางระบบ นิเวศ และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งปัญหานี้พบได้ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้าถือกำเนิดจากแรงบันดาลใจแห่งธรรมชาติและความมุ่งมั่นที่จะปกป้องโลกใบนี้ โดยมีเจตนารมณ์ในการเสริมสร้างจิตสำนึกของผู้คนให้เกิดความรัก หวงแหน ต้องการรักษาธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นกับบริบทแห่งโลกปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมากมาย ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมหรือโรคระบาด ใหม่ๆ พวกเราจึงอยากเป็นพลังกาย พลังใจ และพลังความคิด โดยจะไม่มีใครเดินบนถนนสายนี้เพียงลำพังแต่ จะรวมกันสร้างโลกใบนี้ที่จะทำให้พวกเราจะอาศัยอยู่ได้ สิ่งแวดล้อมอยู่ดี และชีวิตเป็นสุข "
ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ
ประธานกรรมการมูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า
คณะกรรมการ
1. นางนันทริกา ชันซื่อ ประธานกรรมการ
2. นางสาวฐนิดา เหตระกูล รองประธานกรรมการ
3. นายนพดล ธรรมวัฒนะ กรรมการ
4. นายกฤษนันต์ นวลสุวรรณ์ กรรมการ
5. นายวรุต ศรีสุวรรณ์ กรรมการ
6. นางสาวสุภมาส แซ่เฮง กรรมการและเหรัญญิก
7. นายเพชร มโนปวิตร กรรมการและเลขานุการ
โครงการของมูลนิธิ
1. โครงการคลินิกสัตว์ทะเล
2. โครงการจัดการขยะทางทะเล
3. โครงการเยาวชนอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก
4. โครงการเยาวชนกำจัดขยะทางทะเล
หลักสูตรของมูลนิธิ
1. หลักสูตรการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากเบื้องต้น
2. หลักสูตรการประเมินสุขภาพสัตว์ทะเลหายาก
3. หลักสูตรการพัฒนาและจัดการคลินิกสัตว์ทะเลหายาก
4. หลักสูตรการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลหายาก
5. หลักสูตรเทคนิคการปล่อยสัตว์ทะเลหายากกลับสู่ธรรมชาติ
6. หลักสูตรความสัมพันธ์ของชีวิตสัตว์ทะเล (Marine Wildlife) ต่อระบะนิเวศวิทยา