หน้าหลัก > สาระความรู้ > สถานการณ์ขยะทะเลปี 2564
สถานการณ์ขยะทะเลปี 2564
สถานการณ์ขยะทะเลปี 2564
11 Jul, 2023 / By earthagendafoundation
Images/Blog/TP5S0eIQ-Screenshot 2023-07-11 104215.png

สถานการณ์ขยะทะเลปี 2564(https://km.dmcr.go.th/c_260/d_19461)

     ปัญหาขยะทะเลในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากขยะพลาสติกที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีและไหลลงสู่ ทะเล โดยมีแหล่งกำเนิดจากบนบก ร้อยละ 80 และในทะเล ร้อยละ 20 จากข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2562 ปริมาณขยะ มูลฝอยชุมชนใน 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น แต่การจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องก็มีแนวโน้มดีขึ้นด้วย โดยมี การคัดแยกจากต้นทางและมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น จนทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่กำจัดไม่ถูกต้องในปี พ.ศ. 2560  – 2562 มีแนวโน้มลดลงจากปี พ.ศ. 2559 อย่างชัดเจน 

      ประเทศไทยได้กำหนดให้ปัญหาขยะมูลฝอย และขยะทะเลเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแผนบริหารจัดการขยะอย่างเป็น รูปธรรมทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผน แม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) รวมทั้ง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ.  2561 – 2573) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ “แผนปฏิบัติการภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการ ต่อต้านขยะทะเลปี พ.ศ. 2564 – 2568 (ASEAN Regional Action Plan for Combating Marine Debris, 2021 – 2025)”  

     และเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายวราวุธ ศิลปอาชา)  ได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในทะเล ในงานประชุมเปิดตัวแผนปฏิบัติ การภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในประเทศสมาชิกอาเซียน (พ.ศ. 2564 – 2568) โดยการสนับสนุนของ ธนาคารโลกและสำนักงานเลขาธิการอาเซียน นับเป็นแผนปฏิบัติการที่จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้อาเซียนบรรลุการ 

     ปกป้องสภาพแวดล้อมทางทะเลที่สำคัญ โดยเป้าหมายของแผนปฏิบัติการอาเซียน เพื่อทำให้เกิดการประสานในระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศเพื่อให้ได้รับการจัดการที่ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งโดยผ่านการตอบสนองต่อ มลภาวะพลาสติกในทะเล ซึ่งมียุทธศาสตร์สำหรับจัดการปัญหาขยะพลาสติกในทะเล เป็นการดำเนินการปฏิบัติใน 3 ขั้นตอน หลักในห่วงโซ่คุณค่าของพลาสติก 1) การลดสิ่งป้อนเข้าระบบ 2) เสริมสร้างการเก็บและการลดการรั่วไหลเล็ดลอดของขยะ 3)  การเพิ่มคุณค่าให้กับการนำกลับมาใช้ซ้ำ 

      ในปี พ.ศ. 2563 กรมควบคุมมลพิษได้คาดการณ์ว่า ในพื้นที่ 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลมี “ขยะมูลฝอย” เกิดขึ้นปริมาณ  11 ล้านตัน มีขยะที่กำจัดไม่ถูกต้อง 2.86 ล้านตัน โดยเป็น “ขยะพลาสติก” ปริมาณ 343,183 ตัน (0.34 ล้านตัน) และคิดเป็น ขยะทะเลปริมาณ 34,318 – 51,477 ตัน (0.03-0.05 ล้านตัน) โดยที่ปริมาณขยะทะเลในปี พ.ศ. 2563 สูงกว่าในปี พ.ศ. 2562  ซึ่งมีจำนวน 27,334 – 41,000 ตัน

     ปัจจุบันขยะทะเลที่ตกค้างในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งกำลังเป็นประเด็นที่ถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ใน ส่วนของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการบริหารจัดการขยะทะเลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เพื่อ 

ช่วยลดปริมาณขยะในทะเลและชายฝั่ง รวมถึงป้องกันการเกิดขึ้นใหม่ของขยะทะเล โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้ดำเนินงาน โครงการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะทะเล สามารถจัดเก็บขยะที่ตกค้างออกจากระบบนิเวศชายฝั่งทะเลได้รวมทั้งสิ้น  443,987 กิโลกรัม (ประมาณ 444 ตัน) รวมจำนวนขยะ 3,950,904 ชิ้น โดยองค์ประกอบของขยะตกค้างชายฝั่งที่พบมาก 10  อันดับแรก ได้แก่ ขวดเครื่องดื่มพลาสติก (ร้อยละ 13) ถุงพลาสติกอื่น ๆ (ร้อยละ 11) เศษโฟม (ร้อยละ 8) ขวดเครื่องดื่มแก้ว  (ร้อยละ 8) ถุงก๊อปแก๊ป (ร้อยละ 8) ห่อ/ถุงอาหาร (ร้อยละ 7) เศษพลาสติก (ร้อยละ 6) เสื้อผ้า/รองเท้า/เครื่องประดับ/ 

แว่นตา/สร้อยคอ (ร้อยละ 4) กล่องอาหาร/โฟม (ร้อยละ 4) และกระป๋องเครื่องดื่ม (ร้อยละ 3) รวมคิดเป็นร้อยละ 73 ส่วนที่ เหลือเป็นขยะประเภทอื่น ๆ (ร้อยละ 27) และในจำนวนขยะตกค้างชายฝั่ง ที่เก็บได้ทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก (ร้อย ละ 83) 

ที่มา : สถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งปี 2564

             

 

ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป